"ปราสาทบายน" ปราสาทแห่งรอยยิ้ม :)


   

  "รอยยิ้มแห่งบายน" ปราสาทบายน ใน นครธม

              สวัสดีค่ะทุกคน 😃 ครั้งนี้เราจะพาทุกคนไปชมปราสาทที่มีใบหน้าที่มีรอยยิ้มแบบอวบอิ่มบนยอดปรางค์ที่มีมากมายเหลือเกิน ซึ่งหากจะพูดถึงปราสาทที่มีเอกลักษณ์เป็น รอยยิ้ม ทุกคนจะต้องนึกถึง "ปราสาทบายน" เป็นแน่นอนค่ะ ซึ่งปราสาทบายนนั้นอยู่ใน นครธม ที่เป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกนั่นเองค่า


ภาพโดย http://espanyc.com


            เห็นรอยยิ้มบนใบหน้าที่แกะสลักไหมคะ มีทั้งความลึกลับและความน่าค้นหาที่มาที่ไป อยากรู้ประวัติความเป็นมาของปราสาทบายนรึยังคะ งั้นเราไปรู้จักปราสาทบายนกันเลยค่ะ ^^

ภาพโดย https://i0.wp.com/www.gotouchthesky.com



         จุดกำเนิดปราสาทบายน
              ปราสาทบายน ถูกสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ. 1724-1763) เนื่องจากพระองค์ต้องการจะสร้างเมืองพระนครหลวง คือ นครธม (จังหวัดเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา ในปัจจุบัน) ขึ้นเพื่อเป็นเมืองหลวงใหม่ของพระองค์ โดยสร้างทัยเมืองพระนครเดิมของพระเจ้ายโศวรมัน ซึ่งเมืองหลวงใหม่แห่งนี้พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 กำหนดให้ปราสาทบายนเป็นศุนย์กลางของเมือง  ชื่อ "บายน" หมายถึง สันนิษฐานว่ามาจากบายันต์ หมายถึง วิมาณไพชยนต์ของพระอินทร์  

               ปราสาทบายน เป็นปราสาทหลังสุดท้ายในศิลปะขอม ในสมัยนั้นถูกสร้างให้เป็น ศาสนสถานณ์ของพระพุทธศาสนา นิกายมหายาน โดยสถาปนาพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นภาคหนึ่งของพระพุทธเจ้า และในการสร้างปราสาทนั้น พระองค์ได้ปฏิวัติรูปแบบของการสร้างปราสาทที่มีภาพลักษณ์ต่างจากการสร้างรูปแบบเดิมโดยสิ้นเชิง ซึ่งนักวิชาการบางท่านเห็นว่าปราสาทบายนเสื่อมลงจากปราสาทนครวัดมาก เนื่องจากแผนผังไม่สมมาตร โดยมีการวาง ผังของปราสาทเป็นแบบ 'มณฑล' ตามความเชื่อทางพุทธศาสนามหายาน จัดให้มีปราสาทหลังกลางอยู่ในผังวงกลม และมีห้องต่างๆจำนวนมาก 

แผนผังปราสาทบายน
ภาพโดย http://www.huexonline.com



               ลักษณะทางศิลปกรรม
                     
                        ปราสาทบายนถูกสร้างด้วย หินศิลาแลง โดยการนำหินมาวางซ้อนๆกันขึ้นเป็นรูปร่าง เป็นศิลปะแบบขอม-บายน และมีความแปลกตรงที่มีภาพแกะสลักเป็นรูปใบหน้าคนยิ้มซึ่งทำให้ปราสาทบายนนี้มีความแตกต่างและมีเอกลักษณ์เป็นอย่างมาก ตัวปราสาทหันหน้าไปทางทิศตะวันออกตามแบบฉบับของปราสาทขอมทั่วๆไป มีปรางค์ใหญ่น้อยอยู่ 54 ปรางค์  ซึ่งแต่ละปรางค์จะมีภาพแกะสลักใบหน้าอันใหญ่ยักอยู่ทั้ง 4 มุมเลยทีเดียว ยกเว้นองค์ปรางค์ประธานองค์กลางจะมีรูปในหน้าอยู่ทั้ง 8 ทิศ รวมๆแล้วมีพระพักตร์อยู่ 216 พระพักตร์ ซึ่งสันนิษฐานกันว่าใบหน้านั้นคือใบหน้าแทน พระพักตร์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่ยิ้มและคอยสอดส่องดูและทุกข์สุขของประชาชนของพระองค์ เป็นรอยยิ้มแบบบายนที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความเมตตากรุณา จึงเป็นที่มาของคำว่า "ยิ้มแบบบายน"  😊

                         ปราสาทบายนเป็นปราสาทเดียวที่ไม่มีกำแพง ใช้กำแพงของเมืองนครธมแทน รอบๆปรางค์ประธานประกอบไปด้วยระเบียงคต 2 ชั้น รูปทรงสี่เหลี่ยมพื้นผ้า ระเบียงคตชั้นนอกมีขนาดกว้าง 140 ม. ยาว 160 ม. ชั้นในกว้าง 70 ม. ยาว 80 ม. หน้าโคปุระทุกด้านมีภาพประติมากรรมโดยรอบแบ่งเป็น 3 ชั้น ประกอบไปด้วย ระเบียงคตทั้งสองชั้น และชั้นบนสุดเป็นชั้นของปรางค์ประธาน 
                        

ภาพโดย https://png.pngtree.com


          ระเบียงคตชั้นนอก

                   เมื่อก่อนจะมีหลังคาหินทรายมุงอยู่ แต่ด้วยกาลเวลาที่ผ่านมานานนับร้อยปีทำให้พังทลายลงหมดไปตามกาลเวลา  มีภาพแกะสลักนูนต่ำของเหล่านางอัปสราที่กำลังร่ายรำอยู่ แต่ที่สำคัญไปกว่านั้นมีการเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับขบวนทหารและแม่ทัพนายกองส่วนหนึ่งของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7  มีการอธิบายลักษณะของกองทัพในสมัยนั้นได้ดี ซึ่งไม่ต่างจากกองทัพในยุคหลังๆ ซึ่งกองทัพประกอบไปด้วยกองกำลังสอดแนม ทัพหน้า ทัพหลวง กองสรรพวุธและกองเสบียง การแต่งกายของทหารก็ถูกลงรายละเอียดไว้อย่างเห็นได้ชัดจากลักษณะของหมวก เสื้อ ผ้ายันต์และผ้านุ่ง ตลอดจนอาวุธที่ใช้ก็แตกต่างกนตามลำดับของยศ 
                     นอกจากการเล่าเรื่องในการทำสงครามของพระองค์แล้ว ยังมีภาพแกะสลักวัด ภาพการซ่อมแซมปราสาท วิถีชีวิตของชาวบ้านในสมัยนั้น เช่น ภาพคนเลี้ยงหมู ก่อไฟย่างปลา หุงข้าว ภาพการละเล่นต่างๆ ภาพตอนพระองค์เสด็จดำเนินเยี่ยมประชาชน  ซึ่งแปลกไปจากปราสาทอื่นๆเพราะปราสาทอื่นๆไม่นิยมแกะสลักรูปประชาชน แสดงให้เห็นว่าพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงใส่ใจในประชาชนของพระองค์มาก  

                           

ภาพโดย http://www.oknation.net

ภาพโดย https://i0.wp.com/www.gotouchthesky.com


          ระเบียงคตชั้นใน

                 มีภาพแกะสลักนูนต่ำเล่ารื่องราวเช่นกัน แต่ ส่วนใหญ่เป็นภาพในพระราชพิธีต่างๆ เช่น ตอนประชุมเหล่าเสนาบดี ภาพตอนเล่าถึงกฤษดาภินิหารต่างๆของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ก่อนขึ้นครองราชย์ ซึ่งมีความงดงามมาก แต่ถ้าหากจะเปรียบเทียบภาพแกะสลักของปราสาทบายนมีลักษณะเร่งรีบและงดงามด้อยกว่านครวัดเล็กน้อย และยังพบว่าบางส่วนยังแกะสลักไม่เสร็จ แต่อย่างไรก็ตาม ปราสาทบายนก็ถือว่าเป็นปราสาทที่มีเอกลักษณ์ตั้งแต่ลักษณะก่อสร้าง และศิลปะ ซึ่งทำให้นักท่องเที่ยวนิยมมาชมไม่น้อยไปกว่าปราสาทนครวัด


ภาพโดย https://i2.wp.com/www.gotouchthesky.com

ภาพโดย http://www.cameraeyes.net

ภาพโดย http://www.govivigo.com



                  ปราสาทบายนก็นับว่าเป็นอีกปราสาทหนึ่งในกัมพูชาที่จะ พลาดไม่ได้ นอกจากจะมีความแปลกและความเป็นเอกลักษณ์ของศิลปะบายนแล้ว หากมองที่ภาพแกะสลักยังได้มองเห็นวิถีชีวิตของคนในยุคนั้นอย่างละเอียดเลยก็ว่าได้ ซึ่งภาพแกะสลักเหล่านั้นก็มีความงดงามน่าหลงไหลในศิลปะขอมโบราณ และทุกท่านจะต้องตื่นตาตื่นใจกับฝีมือของช่างในยุคนั้น แม้จะมีบางส่วนที่แตกหักไปบ้างแต่ก็ไม่หมดความขลังเลยสักนิด 
                  เพราะฉนั้นหากมีวันหยุดแล้วอยากไปเที่ยวที่ไหนสักที อยากให้มาเที่ยวที่จังหวัดเสียมเรียบ กัมพูชากันนะคะ ที่นั่นมีประสาทโบราณที่น่าอัศจรรย์ใจมากมายและอย่าลืมปราสาทบายนเด็ดขาด ส่วนเรื่องการเดินทางก็สะดวกสบายสุดๆค่ะ และหากกังวลกลัวจะไปเที่ยวไม่เป็น ที่นั่นมีมากมายหลายบริษัททัวร์ ท่านสามารถหาข้อมูลเบอร์โทรติดต่อได้เพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตค่ะ

ให้ปราสาทบายนเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกในการท่องเที่ยวของทุกคนด้วยนะคะ 😄😄







22/10/2561





บรรณานุกรม

วิกิพีเดีย.(2561).ปราสาทบายน.สืบค้นเมื่อ22ตุลาคม2561.จากhttps://th.wikipedia.org

โอเชียลสมาย.(2555).นครธม:ปราสาทบายน.สืบค้นเมื่อ22ตุลาคม2561.จากhttp://www.oceansmile.com/KHM/AngkorTom.htm

ว้อยซ์ทีวี.(2560).ปราสาทบายน.สืบค้นเมื่อ22ตุลาคม2561.จากhttps://www.voicetv.co.th/read/535804

เอ็มไทย์ฬ.(2559).เที่ยวเสียมเรียบ กัมพูชา กับ 4 มหาปราสาทมรดกโลก.สืบค้นเมื่อ22ตุลาคม2561.จากhttps://travel.mthai.com/world-travel/117403.html




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ศูนย์รวมทางจิตใจของชาวคริสต์ โบสถ์บาโรกแห่งฟิลิปปินส์

พระนางสุรัสวดี เทวีแห่งปัญญา