พระนางสุรัสวดี เทวีแห่งปัญญา

 มหาเทวีแห่งปัญญาและศิลปะ

                    สวัสดีค่ะท่านผู้อ่าน หลายคนอ่านจะอาจจะเคยได้ยินคำว่า "สุรัสวดี" มาจากชื่อใครสักคนในห้องเรียนเนื่องจากที่ก็เป็นชื่อยอดฮิตที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งที่บางคนอาจจะยังไม่รู้จักว่ามาจากชื่อของมหาเทวีในศาสนาฮินดู 
                      พระนามของพระแม่สุรัสวดี นั้นสามารถออกเสียงเรียกได้หลายแบบ เช่น พระแม่สุรัสวตี พระแม่สุรัสวดี พระแม่สุรัสวตี สวารี ภารตี เป็นต้น  พระองค์นั้นมีความงามอย่าง สุขุม นิ่ง เยือกเย็น ฉลาด เป็นเอกลักษณ์
                     พระแม่สุรัสวดีเป็นเทพีที่ปรากฎในคัมภีร์ฤคเวทโดยแต่เดิมได้รับการบูชาในฐานะเทพีผู้รักษาแม่น้ำแม่น้ำสุรัสวดีและยังมีความสำคัญและได้รับการนับถือเรื่อยมาจนถึงยุคพระเวทซึ่งถือว่าเป็นฮินดูยุคใหม่ ชาวฮินดูบางกลุ่มได้เฉลิมฉลองใน เทศกาลวสันตปัญจมี เพื่อบูชาพระองค์.

ภาพโดย http://boonnum.lnwshop.com/category/

                              พระแม่สุรัสวดี หนึ่งใน 3 มหาเทวี ซึ่งประกอบไปด้วย
                 1.พระแม่สุรัสวี (ชายาพระพรหม ผู้สร้างโลก) ตัวแทนแห่ง ปัญญาความรู้
                 2.พระแม่พระลักษมี (ชายาพระวิษณุ ผู้ดูแลโลก) ตัวแทนแห่ง ความร่ำรวย
                 3.พระแม่อุมา(ชายาพระศิวะ ผู้ทำลายโลก) ตัวแทนแห่ง ความมีอำนาจ 
             
  ภาพโดย http://upload.wikimedia.org

                   ซึ่งพระมหาเทวีทั้ง 3 พระองค์นี้ เป็นมหาเทวีในศาสนาฮินดู ซึ่งชาวฮินดูเชื่อว่า การกราบไว้บูชาพระแม่ทั้งสามพระองค์ด้วยความซื่อสัตย์ และมอบความรักความศรัทธาอย่างแรงกล้าแก่พระองค์ ย่อมจะได้รับพรจากพระองค์ทั้งด้านปัญยา ความร่ำรวย และความมีอำนาจอย่างครบถ้วน

          กำเนิดพระแม่สุรัสวดี

               ตามตำนาน บอกว่า พระแม่สุรัสวดี เป็นธิดาแห่งพระทักษาและนางประสูตร แต่มหากาพย์มหาภารตะกลับมีการกล่าวถึงว่าพระกฤษณะ คือ ผู้สร้างพระนางสุรัสวดีและคัมภีร์พระเวทขึ้นพร้อมกัน ซึ่งสร้างมาจากจิตใจของพระองค์ จึงทำให้พระนางสุรัสวดีถูกยกย่องให้เป็นเทพแห่งพระเวททั้งปวง พระองค์จึงเปรียบเสมือนครูบาอาจารย์ มากไปด้วยความรู้และปัญญาอันเลิศล้ำ และพระองค์ยังถือเป็นสัญลักษณ์แห่งศิลปะทุกแขนงไม่ว่าจะเป็น อักษรศาสตร์ แต่งตำรา เขียนหนังสือ การวาดเขียน หรือการดนตรี และนอกจากนี้พระองค์ยังเป็นผู้ให้กำเนิดอักขระของอินเดียวที่ เรียกว่า อักษรเทวนาครี
               นอกจากพระแม่สุรัสวดีจะเป็นผู้มีปรีชาญาณอันแจ่มแจ้งแล้วนั้น  พระองค์ยังเป็นผู้ให้กำเนิดบทสวดมนต์บทแรกของจักรวาล ทำให้ชาวฮินดูนับถือพระองค์ว่าเป็น เทวีแห่งเวทมนต์ คาถา และการประกอบพิธีกรรม ซึ่งถือว่าพระองค์มีความสำคัญมากๆ เมื่อชาวฮินดูจะมีการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาต่างๆ นอกจากจะต้องเชิญเทพของพิธีกรรมนั้นๆมาแล้วยังจำเป็นต้องเชิญพระแม่สุรัสวดีมาร่วมด้วย เพื่อเพิ่มความศักดิ์สิทธิ์และมีประสิทธิภาพสุงสุด 

           ลักษณะสำคัญ

                พระแม่สุรัสวดี ทรงเป็นเทวีผู้มีบุคลิกภาพที่ อ่อนโยน ละมุนละม่อม เยือกเย็นและเปี่ยมไปด้วยเมตตากรุณา พระองค์เป็นผู้ที่มีความเคร่งครัด ทรงโปรดความเงียบสงบในสถานที่อันเหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรภาวนา โปรดพิธีกรรมที่ถูกจัดขึ้นด้วยความถูกต้องและปราณีต โปรดงานศิลปะ การแสดงดนตรี การบรรเลงเพลง และการร้องเพลงถวาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่บูชาด้วยความมุ่งมั่นในการศึกษาหาความรู้จะยิ่งประสบผลสำเร็จมากขึ้น เหหล่าผู้บูชาจึงนิยมเปิดเพลงหรือบรรเลงดนตรีที่มีท่วงทำนองประณีตงดงามถวายแด่พระองค์ ไม่ว่าจะเป็นดนตรีประเภทใดพระองค์ก็ทรงโปรดทั้งสิ้น เช่น พิณ จะเข้ ขขิม ไวโอลิน กีตาร์ กลอง เป็นต้น 

                 ส่วน ลักษณะทางศิลป์  ของพระแม่สุรัสวดี รูปเคารพของพระองค์นั้นส่วนใหญ่ พระองค์จะมีพระวรกายขาว ประทับนั่งบนดอกบัว พระกรถือพิณ หรือจะเข้ของอินเดีย อันเป็นสัญลักษณ์แห่งการอุปถัมภ์ในทางศิลปศาสตร์ทุกแขนง บางรูปเคารพของพระนางมีพระพักตร์เดียว หรือ 4 พักตร์ พระกรมี 4 กร ทรงถือคัมภีร์ ดอกบัว ขลุ่ยหรือแจกัน และพระกรทำปางวิตรกะ บางลัทธิสร้างรูปเคารพมี 8 กร ทรงถือคันศร คฑา ขลุ่ย ลูกล้อ สังข์ บ่วง ลูกบด และประตัก แล้วแต่จิตกรจะสรรค์สร้างขึ้นยานพาหนะ ของพระองค์ คือ นกยูง  และ หงส์

ภาพโดย http://2.bp.blogspot.com

                      เนื่องจากที่พระแม่สุรัสวดีเป็นเทวีแห่งปัญญา เชื่อกันว่าพระองค์จะทรงเกื้อหนุนผู้บูชาให้บรรลุถึงความรู้สูงสุดในศาสตร์ที่ศึกษา ทรงนำผู้บูชาข้ามพ้นอวิชชาและความเกียจคร้าน ทรงดลบันดาลเกียรติยศและการเป็นที่ยกย่องสรรเสริญให้แก่ผู้ที่ขยันหมั่นเพียรในการเรียน ทรงให้ความคิดและคำพูดที่ดีเยี่ยม ประทานพลังอำนาจให้การใช้เวทมนต์ทุกชนิดเป็นผล ประทานความขลังให้แก่พิธีกรรมทั้งมวล
                      นอกจากพระแม่สุรัสวดีจะถูกยกย่องให้เป็น มหาเทวีสูงสุดในศาสนาฮินดูแล้ว ในทางศาสนาพุทธเถรวาท ทางมอญและพม่า เป็นพระแม่องค์ธรรมะ รหือ สุนทรีวาณี ส่วนในศาสนาพุทธเถรวาททางไทย นับถือเป็นเทวีแห่งสติปัญญาและการศึกษา รวมไปถึงการเจรจาต่างๆ ในศาสนาพุธมหายาน โดยทรงมีความสำคัญรองจากพระนางปรัชญาปารมิตาและพระนางตารา 
                       
ภาพโดย https://www.siamganesh.com
(รูปบูชาพระแม่สุรัสวดี แบบยืน เป็นรูปโบราณของอินเดีย)


 
ภาพโดย http://www.sac.or.th
(ประติมาณวิทยาของพระแม่สุรัสวดีในพม่า)
                       ตามแบบประติมาณวิทยา ตัวอย่างงานศิลปะพระแม่สุรัสวดี พระนางทรงหงส์  ส่วนใหญ่ช่างจะสร้างให้พระนางมักถือพานที่ประดิษฐานพระไตปิฎกจำนวน 3 เล่ม คือ พระวินัยปิฎก พระสุตปิฎกและพระอภิธรรมปิฎก ถึงประติมาณวิทยาของพระแม่สุรัสวดีที่ถูกสร้างและนับถือบูชาในศาสนาพุทธเถรวาทแต่ก็ยังคงเป็นเทวีที่เกี่ยวข้องกับปัญญาความรู้เช่นเดียวกับทางศาสนาฮินดู
                      จากที่พระแม่สุรัสวดีถูกนับถือมาอย่างช้านาน ซึ่งในสมัยโบราณก็ได้มีการสร้างเทวรูปของพระองค์ไว้เช่นกัน มักแกะสลักหินขึ้นเป็นหญิงงาม มีสีเหลืองอ่อน มี 4 กร 

                       การบูชาพระแม่สุรัสวดีนั้น เหมาะกับนักเรียน นักศึกษาอย่างมากแก่การบูชาในเรื่องเรียน ซึ่งสถานศึกษาบางแห่งมีการประดิษฐานเทวรูปของพระแม่สุรัสวดีไว้ให้นักเรียนกราบไหว้บูชา เช่นที่ โรงเรียนภารตวิทยาลัย และนอกจากนี้พระแม่สุรัสวดียังเหมาะแก่การบูชาสำหรับสายวิชาทางการ นักวิจัย นักโบราณคดี ผู้ที่ทำงานในแวดวงทางการแพทย์ ครู วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 
                   
                       เทศกาลวสันตปัญจมี ที่จัดขึ้นเพื่อบูชาพระแม่สุรัสวดีนั้น ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปีี มีการประกอบพิธีบูชาพระแม่สุรัสวดีทั้งวันทั้งคืน พร้อมทั้งแห่เทวรูปไปทั่วเมืองและทำการสรงน้ำหรืออันเชิญสรงน้ำในแม่น้ำ ซึ่งการประกอบพิธีในเทศกาลนี้เพื่อต้อนรับฤดูใบไม้ผลิอีกด้วย
                     
                      จะเห็นได้ว่าพระแม่สุรัสวดีเป็นเทวีที่สำคัญมากๆ ไม่ว่าจะในศาสนาฮินดู หรือศาสนาพุทธ ต่างนับถือพระองค์เป็นเทวีแห่งปัญญา และบูชาเพื่อให้เกิดปัญญาและความสำเร็จต่อชีวิต ด้วยความสำคัญนี้มีแม่น้ำที่อินเดียถูกตั้งชื่อว่า สุรัสวดี อีกด้วย 








17/11/2561




บรรณานุกรม

ทีนิวส์.(2560).พระแม่สุรัสวดีเทวีแห่งปัญญา.สืบค้นเมื่อ 14 พฤษจิกายน 2561.จากhttps://www.tnews.co.th/contents/308471

รศ.ดร.เชษฐ์ ติงสัญชลี.(2559).สรัสวดีในรูปของนัต.สืบค้นเมื่อ 14 พฤษจิกายน 2561.จากhttp://www.sac.or.th

สยามคเณศ.(2556).พระแม่สุรัสวดีมหาเทวีแห่งปัญญา.สืบค้นเมื่อ 14 พฤษจิกายน 2561.จากhttps://www.siamganesh.com/saraswati.html

วิกิพีเดีย.(2561).พระสุรัสวดี.สืบค้นเมื่อ 14 พฤษจิกายน 2561.จากhttps://th.wikipedia.org

โหรามหาเวทย์.(2560).สรัสวดีบูชา.สืบค้นเมื่อ 14 พฤษจิกายน 2561.จากhttp://www.smmsport.com/reader.php?news=192632







                  

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ศูนย์รวมทางจิตใจของชาวคริสต์ โบสถ์บาโรกแห่งฟิลิปปินส์

"ปราสาทบายน" ปราสาทแห่งรอยยิ้ม :)